วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เผยแพร่บทความ


แบบรายงานนวัตกรรม

1. ชื่อนวัตกรรม หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยประถมศึกษาปีที่ 6
2. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน
3. ความเป็นมานวัตกรรม
การอ่านเป็นทักษะพื้นฐานทางภาษาที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ เป็น
ช่องทางในการรับรู้และแสวงหาได้ตามโอกาส เป็นทางที่จะเพิ่มพูนความรู้ ความคิดและประสบการณ์อย่างไม่จำกัดขอบเขต จากสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยโรงเรียนบ้านแสนสุข นักเรียนไม่มีนิสัยรักการอ่าน อ่านหนังสือไม่ออกและอ่านไม่คล่อง จากการประเมินผลปลายปีวิชาภาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2551 พบว่าสมรรถภาพทางการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนยังต่ำกว่าเป้าหมายทุกสมรรถภาพโดยเฉพาะสมรรถภาพการอ่าน การจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านนอกจากหนังสือแบบเรียนที่ใช้ตามหลักสูตรแล้ว วิธีหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนมีทักษะในการอ่านดีขึ้น คือการที่ผู้เรียนได้อ่านหนังสือที่หลากหลายและมีจำนวนมากเพียงพอโดยเฉพาะหนังสือที่ผู้เรียนสนใจ มีเนื้อหาเหมาะสมกับวัยและเป็นเรื่องราวใกล้ตัวผู้เรียน จะทำให้นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน ทำให้มีนิสัยรักการอ่าน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของภาษาเสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ
จากเหตุผลดังกล่าวหนังสือส่งเสริมการอ่านเป็นหนังสือสำหรับเด็กที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่ง จึงมีความคิดในการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะในการอ่าน มีนิสัยรักการอ่าน เพิ่มพูนความรู้แก่นักเรียนนอกเหนือจากที่เรียนในหนังสือเรียน ผู้จัดทำจึงได้สร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสภาพท้องถิ่นและสอดคล้องกับสภาพชีวิตประจำวันของนักเรียน จำนวน 10 เรื่อง
4. กระบวนการได้มาซึ่งนวัตกรรม
4.1 วัตถุประสงค์เป้าหมาย
4.1.1 เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน วิชาภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ
4.1.2 เพื่อให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลินสนองความต้องการของวัยเด็ก
4.1.3 เพื่อสร้างความคิดคำนึงและความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็ก
4.1.4 ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ด้านภาษาของเด็กให้เจริญตามวัย
4.1.5 ช่วยปลูกฝังคุณธรรมเจตคติและแบบอย่างอันพึงปรารถนาให้บังเกิดแก่เด็ก
4.1.7 ช่วยให้เด็กรู้จักอ่านหนังสือ อ่านหนังสือเป็น อ่านหนังสือเก่ง เกิดนิสัยรักการอ่านดำรงอยู่คู่ตลอดไป ซึ่งจะเป็นโยชน์แก่เด็กในอนาคตในแง่ที่รู้จักใช้การอ่านเป็นเครื่องมือหาความรู้
4.1.8 ช่วยให้เด็กอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาสาระเหมาะกับวัย
4.2 การออกแบบนวัตกรรม
4.2.1 ศึกษาหลักสูตรภาษาไทยระดับประถมศึกษา คู่มือครู แบบเรียน เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
4.2.2 ศึกษาเอกสาร ตำรา เกี่ยวกับการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก
4.2.3 ศึกษาปัญหาสภาพการเรียนของนักเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะการอ่าน
4.2.4 กำหนดจุดประสงค์ในการจัดทำหนังสือส่งเสริมการอ่าน โดยเน้นความมีสาระและความบันเทิง เป็นเรื่องใกล้ตัวนักเรียน โดยนำคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาใช้แต่งเรื่องที่สามารถนำมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้
4.3 การนำสู่การปฏิบัติ
4.3.1 ลงมือเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่านโดยวางแก่นของเรื่อง อย่างชัดเจนเพียงพอกับความต้องการแต่ละเรื่องให้จบสมบูรณ์
4.3.2 สร้างโครงเรื่องให้มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจ โดยมีบทนำเรื่อง ตอนกลางเรื่อง
และตอนจบ ทั้งนี้เหตุการณ์ต่างๆจะต้องให้มีจุดเร้าที่สุด หรือเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น ซึ่งเป็นจุดสุดยอดของเรื่อง
4.3.3 เขียนโครงเรื่องย่อๆ
4.3.4 กำหนดการเขียนบทนำ การดำเนินเรื่องตอนกลาง และตอนจบเรื่องอย่าง
ละเอียด
4.3.5 สร้างตัวละครและอุปนิสัยให้ชัดเจนโดยเฉพาะตัวละครตังเอก
4.3.6 สร้างรายละเอียดฉาก ซึ่งได้แก่ บ้าน ป่า ภูเขา ท้องฟ้าทะเล สถานที่ต่างๆ
ยุคสมัยกาลเวลาและฤดูกาลอย่างถูกต้อง
4.3.7 ทบทวนโครงเรื่องว่าสนุกได้สาระเพียงพอหรือไม่ แก่นเรื่องที่แทรก
ทรรศนะ คุณธรรมตามที่กำหนดไว้ยังคงอยู่ในเรื่องชัดเจนทำให้ผู้อ่านเข้าใจหรือไม่ กำหนดความยาวของเรื่อง
4.3.8 อ่านตรวจสอบหาข้อบกพร่อง ทบทวนดูเรื่องที่เขียน ให้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหนังสือส่งเสริมการอ่าน ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งถ้ายังมีข้อบกพร่อง ดำเนินการแก้ไข
4.3.9 นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4.3.10 พิมพ์ออกเผยแพร่เพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะ
ภาษาไทยแก่นักเรียน
5. คุณค่าของนวัตกรรม
5.1 คุณค่าต่อครู
5.1.1 ครูได้หนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีคุณภาพนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อเสริมทักษะการอ่านแก่นักเรียน เพิ่มพูนความรู้นอกเหนือจากหนังสือเรียนและเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน
5.1.2 หนังสือส่งเสริมการอ่านเป็นผลงานทางวิชาการที่สามารถนำเสนอเป็นผลงานการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้องได้
5.2 คุณค่าต่อนักเรียน
5.2.1 นักเรียนมีทักษะการอ่านดีขึ้น
5.2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้อ่านหนังสือส่งเสริมการอ่านที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและผู้เรียน มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ นักเรียนเห็นความงามของภาษา เห็นคุณค่าของการอ่านซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีผลการเรียนภาษาไทยดีขึ้น
5.2.3 เพิ่มพูนความรู้ให้กับนักเรียน
5.2.4 นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
5.2.5 นักเรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง
5.2.6 นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5.2.7 นักเรียนเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย



โดย นางพรพิมล บำรุง
ศูนย์ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
เสนอ ดร.สมจิต สงสาร